Translate

Sponsor

เที่ยวแก้ชงที่วัดเล่งเน่ยยี่ (Wat Leng Noei Yi) (Update ปีชง 2567)


"ต้าชั่วเท่อชั่ว ปู๋ย่าวหลาย อู๋หลู่หว่อเตอเหม่ย หว่อปู๋ ซื่อหนี่เตอ สไตล์ โย่วเว่ยเหอเทียน เทียนฉันเจอเหว่อ"

เทศกาลตรุษจีนมาเพลงนี้ต้องมาจริง ๆ ช่วงเทศกาลตรุษจีน นอกจากการไหว้บรรพบุรุษ ทำบุญ ไหว้พระแล้ว กิจกรรมหนึ่งที่ทั้งคนจีนคนไทยนิยมทำควบคู่กันไปคู่การแก้ชง อันเป็นคติความเชื่อเก่าแก่ของจีน สืบทอดมานานกว่าพันปี สำหรับการแก้ชงนั้นหัวใจจริง ๆ คือการเข้าวัดเพื่อทำให้จิตใจสงบและเตือนสติตัวเองเพื่อพร้อมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป


แก้ชง 2 คน ตากล้อง 1 คน พร้อมค่ะ

วันนี้เลยจะมาเที่ยวแก้ชง ก็คือมาแก้ชงด้วย แล้วก็เดินเล่นเยาวราชด้วย แหม่... มาถึงแหล่งของกินเด็ด ๆ ทั้งทีพลาดได้ไง

ว่ากันด้วยการแก้ชง ในปี 2567 หรือ ปีนักษัตร ปีขาล

ปีชง คือ ปีที่ได้รับผลเสียมากที่สุดหรือที่เราเรียกกันว่าชงโดยตรง (ชง 100%) 
ได้แก่ ปีจอ (สุนัข) การถูกให้ร้าย ถูกใส่ความทำให้มัวหมอง เสื่อมเกียรติ เสียชื่อเสียง

ปีคัก คือ ปีที่เป็นปีนักษัตรเดียวกับปีนั้น ๆ (ชง 75%)
ได้แก่ ปีมะโรง (มังกร, งูใหญ่) ตกในสภาวะอึดอัด ทำอะไรก็จะติดขัด

ปีผั่ว คือ ปีที่ได้รับผลกระทบในเรื่องสุขภาพ (ชง 50%)

ได้แก่ ปีฉลู (วัว) ให้ระวังเรื่องผู้ใหญ่ในบ้านเจ็บป่วย การงานหยุดชะงัก หรือการงานเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่คาดหมาย ต้องรีบเตรียมการวางแผนทุกอย่างด้วยความรอบคอบรัดกุม เรื่องความรักอับเฉา มีเรื่องขัดแย้งไม่ราบรื่นกับคนรักคู่ครอง 

ปีเฮ้ง คือ ปีที่ได้รับผลกระทบในเรื่องเคราะห์กรรม (ชง 25%)
ได้แก่ ปีมะแม (แพะ) ต้องระวังเรื่องสุขภาพ ต้องเผชิญอุปสรรคปัญหาถาโถมเข้ามาในชีวิต ระวังเรื่องคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลไว้ด้วย หลีกเลี่ยงเรื่องที่เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายบ้านเมือง เพราะมีเกณฑ์จะได้รับโทษทัณฑ์ เรื่องเอกสารต้องรอบคอบ ระวังสิ่งที่ซ่อนเร้นแอบแฝงจะทำให้ตกที่นั่งลำบาก ห้ามค้ำประกันใครเด็ดขาด ระวังตัวอาจโดนประทุษร้ายให้ได้รับบาดเจ็บ

ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก : www.mahamongkol.com

ถ้าพูดถึงเรื่องแก้ชงวัดแรกที่ผู้คนจะนึกถึงนั่นก็คือ วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกรกมลาวาส เป็นวัดเก่าแก่อันเป็นที่เคารพของคนไทยเชื้อสายจีนมาอย่างยาวนานและเป็นที่ล่ำลือในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์มาก จึงเป็นสถานที่ที่ผู้คนนิยมมาแก้ชงรับปีใหม่จีนกัน โดยทางวัดจะเริ่มให้ประชาชนเข้ามาทำบุญแก้ปีชงกันตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ซึ่งโดยส่วนมากคนก็จะนิยมไปไหว้แก้ชงก่อนเข้าปีใหม่สากลกัน จะได้เฮง ๆ รวย ๆ กันตลอดปี ส่วนทางวัดก็จะนำซองที่บรรจุดวงชะตาที่เราฝากไว้ นำไปทำพิธีสวดมนต์เสริมสิริมงคลให้เจ้าของชื่อ มีความสุข โชคดีตลอดปี ตามแบบพิธีจีนในช่วงวันตรุษจีน 

สำหรับวัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกรกมลาวาส 
ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่างซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ภายในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 
เวลาทำการ 6.00 - 18.00 น.
เดินทางง่าย ๆ ไม่ต้องลำบากหาที่จอดรถ มาทาง MRT ลงสถานี วัดมังกร ใช้ทางออก หมายเลข3 วัดมังกรกมลาวาส ค่ะ







ถ้าใครไม่เคยไปวันนี้จะมาเล่าให้ฟังค่ะ ^^

- เมื่อเข้าไปที่วัดให้เดินไปที่จุดจำหน่วยชุดทำบุญสะเดาะเคราะห์แก้ปีชงด้านใน ซึ่งเมื่อเดินเข้าไปจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ (ถ้ามาช่วงหลังตรุษจีนจะอยู่บริเวณจุดประชาสัมพันธ์ด้านในของวัด บริเวณเดียวกับจุดรับใบเซียมซี) ด้านขวาจะเป็นสถานที่สำหรับจำหน่าย ธูป เทียน พวงมาลัย น้ำมันเติมตะเกียง










- ทำบุญชุดสะเดาะเคราะห์แก้ปีชง ราคาชุดละ 100 บาท ประกอบไปด้วยชุดไหว้และใบดวงอย่างละใบ



- นั่งเขียนอายุ (นับแบบจีนจะบวก 1 ปี) วัน เดือน ปีเกิด เวลาตกฝาก ลงในใบสีแดง ถ้าไม่รู้ช่องไหนให้เติมคำว่า “ดี” ลงไปแทนไ ม่ต้องกลัวที่จะเขียนผิดนะคะ เพราะทางวัดมีไว้บอกวิธีการเขียนไว้ให้

 









- เขียนเสร็จแล้วนำซองฝากดวงชะตาและธูป 3 ดอก ที่ทางวัดจัดเตรียมไว้บริเวณด้านหน้าไปไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย






- เดินไปตรงบริเวณองค์เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย อธิษฐานขอให้ท่านคุ้มครองดวงชะตา ใครไม่ชงก็ไหว้ได้นะคะ เพื่อให้ชีวิตเฮงเฮงยิ่งขึ้นไปอีก





 
- นำชุดไหว้เจ้าปัดออกจากตัว 12 ครั้ง (ถ้าทำแทนคนอื่นไม่ต้องปัด) ไล่ตั้งแต่หัวลงไปที่บริเวณปลายเท้า ให้ทำท่าปัดออกทางเดียวอย่าหมุนวกกลับเข้ามาตัว จากนั้นนำใบดวงไปวางไว้ที่กล่องบริเวณด้านข้าง


 



- นำธูปไปปักตรงกระถางของท่าน



- ถ้ามีเวลาก็อย่าลืมแวะเวียนไหว้เทพองค์อื่น ๆ นะคะ เพราะจริง ๆ แล้วภายในวัดเล่งเน่ยยี่มีองค์เทพเจ้าที่ประทานพรให้ครบทุกด้าน อ่อ... ว่าไปตรุษจีนปีนี้ก็ไม่ไกลวาเลนไทน์เท่าไหร่ ใครอยากขอพรเรื่องความรักอย่าลืมไหว้ขอพรองค์เทพจันทรากันนะคะ










 







มาถึงอีกหนึ่งอย่างที่พลาดไม่ได้คือการเสี่ยงเซียมซี วันนี้เลยหยิบเอาวิธีการเสี่ยงเซียมซีจาก  Horoworld มาฝากกันค่ะ


เสี่ยงเซียมซีวัดดังทั้งที! สั่นติ้วอย่างไรถึงถูกต้อง ?

ศาลเจ้า หรือเสี่ยงเซียมซีวัดดังต่างๆ หรือกระทั่งในโลกออนไลน์ โดยคำว่า 'เซียมซี' นั้น ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า ใบทํานายโชคชะตาตามศาลเจ้าหรือวัด มีเลขหมายเทียบกับเลขหมายบนติ้วที่เสี่ยงได้



'ไม้ติ้ว' สีแดงที่เห็น คืออะไร ?

ไม้ติ้ว เป็นไม้แผ่นบาง ๆ ยาว ๆ มีหมายเลขกำกับไว้บนปลายไม้ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งตัวเลขที่เห็นทั่วไปจะเป็นเลขไทย หรือบางที่เป็นเลขสากล 1-28 แต่บางสถานที่จะมีมากกว่า 28 ซึ่งแต่ละไม้ติ้วนั้นจะกำกับเลขที่บอกคำทำนายที่แตกต่างกันออกไป ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ประมาณว่าคุณทำนายครั้งเดียวรู้ทุกช่วงเวลา



'เสี่ยงเซียมซี' นั้น ต้องทำอย่างไร ?

โดยตามหลักที่นิยม ข้อแรกคือ ผู้ต้องการทำนายต้องตั้งจิตอธิฐานต่อเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ข้อต่อมา สิ่งที่ต้องการรู้ ตั้งคำถามที่จะถาม ซึ่งบางความเชื่อนั้น มักจะตั้งคำถามทีละข้อและเสี่ยงเซียมซีทีละครั้ง แต่บางความเชื่อตั้งคำถามและทำนายดวงชะตาเพียงครั้งเดียว เพื่อคงความแม่นยำ เพราะใบคำทำนายบอกทุกช่วงเวลา อันนี้แล้วแต่ความถนัดและความเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งการเสี่ยงเซียมซีเสมือนเป็นเครื่องมือในการทำนายเพื่อเตือนสติ

ข้อสาม เมื่อตั้งคำถามก็ให้สั่นกระบอกไม้ไผ่ หรือเรียกว่า สั่นติ้ว เพื่อให้ไม้แผ่นบาง ๆ ที่มีหมายเลขกำกับหลุดออกจากกระบอกไม้ไผ่เพียง 1 อัน แล้วก็ไปดูบทกลอนบนกระดาษเขียนไว้ว่าอย่างไร เสน่ห์และความนิยม ความเชื่อในการเสี่ยงเซียมซี คือ คำทำนายที่เป็นเชิงบทกลอน









แต่หากคำทำนายของผู้ทำนายออกมาไม่ดี ให้หยิบ 'ไม้ปวย' ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้สีแดงรูปพระจันทร์เสี้ยวสองอัน โดยหากสังเกตจะเห็นว่าทุกวัด และศาลเจ้าเมื่อมีเซียมซี ย่อมมีไม้ปวยวางคู่ โดยผู้ทำนายตั้งจิตแล้วนำไม้ปวยมาประกบกันแล้วโยน เพื่อเป็นการยืนยันคำทำนายหมายเลขเสี่ยงเซียมซีที่เสี่ยงว่าจะเป็นจริงหรือไม่




ความหมายของการเสี่ยง 'ไม้ปวย' มีอะไรบ้าง ?

1. 'ไม้ปวย' ออกมาคว่ำเหมือนกัน หมายถึง เคราะห์ร้ายนั้นจะไม่เกิดผล ก็ไม่ต้องเสี่ยงเซียมซีใหม่อีกครั้ง

2. 'ไม้ปวย' หงายเหมือนกัน หมายถึง เสี่ยงคำทำนายใหม่ โดยเสี่ยงเซียมซีอีกรอบ

อีกทั้ง เมื่อเสี่ยงเซียมซีใหม่ หากได้ใบดีความเชื่อแสดงว่าเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ความช่วยเหลือให้พ้นเคราะห์ แต่ถ้าได้ใบไม่ดีแสดงว่าผู้ทำนายไม่สามารถหลีกกรรมหรือเคราะห์ร้ายได้

3. 'ไม้ปวย' ออกมาคว่ำอัน หงายอัน นั่นหมายความว่า สวรรค์เบื้องบนไม่ยอมเปิดโอกาสให้คุณแก้ไขเคราะห์กรรมนั้น

ข้อสุดท้าย เมื่อเสี่ยงเซียมซีได้ใบคำทำนายเซียมซีออกมาดี ตามความเชื่อผู้ทำนายต้องนำใบเซียมซีนั้นกลับไปบูชาไว้บนหิ้งพระที่บ้าน แต่ถ้าเสี่ยงเซียมซีแล้วได้ใบคำทำนายเซียมซีไม่ดี แม้จะโยนไม้ปวยแล้วก็แก้ไขไม่ได้ ให้ฝากใบคำทำนายเซียมซีไว้ที่เดิม เสมือนฝากเคราะห์แทน ถือว่าเป็นการแก้เคล็ดอย่างหนึ่งนั้นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก Horoworld.com

ถ้าใครไม่เคยเดินทางไปแก้ชงที่วัดไม่ต้องกลัวงงเลย เพราะทางวัดเล่งเน่ยยี่จะมีเจ้าหน้าที่ของทางวัดคอยแนะนำและให้ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด

แก้ชงเสร็จแล้ว มาถึงถิ่นเยาวราช เพื่อไม่ให้เสียเที่ยวก็ต้องเดินหาของกินกันสักหน่อย








ข้าวแกงเจ๊กปุ้ย (เจ๊เฉี๋ย)
ข้าวแกงเก้าอี้ดนตรีในตำนาน อายุ 70 ปี เมนูมีให้เลือกหลากหลาย แกงกะหรี่เนื้อ, แกงเขียวหวานไก่, พะโล้, ขนมจีน ราคา 30-40 บาท เดินตรงถนนมังกรเดินทางจากวัดเล่งเน่ยยี่ทางขวามือไม่ไกลกันเลย

อัพเดท
ร้านข้าวแกงเจ๊กปุ้ย (เจ้เฉีย) - ตอนนี้ย้ายร้านมาด้านในบ้าน บริเวณซอยเดียวกันห่างกันนิดเดียวไม่กี่สิบเมตรเองค่ะ









แถว ๆ วัดเล่งเน่ยยี่ก็จะมีของคล้าย ๆ เครื่องราง เสริมดวง จำหน่ายตลอดทาง


 "ข้าวเสียโป" ตำนานที่ยังมีลมหายใจของเยาวราช



"ข้าวเสียโป" ปัจจุบันมีอยู่ไม่มากนัก และดูว่าอาจจะใกล้หายไปจากเมืองไทยในไม่นานนี้

ในอดีตพื้นที่เยาวราชมีโรงฝ
ิ่นและการพนันอยู่มากมาย "โป" นั้นเป็นการพนันชนิดหนึ่งที่นิยมในเหล่าคนจีน โดยจะมีกระบอกไม้ ภายในกระบอกจะมีไม้สีต่างๆพร้อมคะแนน ใครที่ดึงได้คะแนนมากถือว่าเสียโปจะต้องเสียเงินให้นักพนันคนอื่น

ชื่อ "ข้าวเสียโป" นั้นจึงมาจากนักพนันที่เสียโปจะต้องจ่ายเงินให้นักพนันคืออื่น โดยที่บางทีอาจจะเป็นการเลี้ยงข้าวแทน หรือทั้งจ่ายเงินและเลี้ยงข้าว รวมถึงหลายครั้งที่พ่อค้าจีนหาบเร่ไปขายตามแหล่งพนันต่าง ๆ เวลาที่นักพนันเสียเงินจนเหลือเงินติดกระเป๋าสตางค์เพียงนิดเดียว ก็จะมาสั่งแม่ค้าให้เอาเศษไก่ เป็ด หมู เครื่องในต่างๆ โปะใส่ลงไปในข้าวสวย ราดด้วยน้ำพะโล้ จีงเรียกกันปากว่า "ข้าวเสียโป" หรือข้าวของคนที่เสียโปมาสั่งทานกัน












เดินยาวต่อกันไปที่สะพานหัน ตั้งใจมากินกุ๋ยช่ายเจ้าดังแต่ร้านปิด เลยเดินมากินยำโดราเอมอนที่โด่งดังไม่แพ้กัน


ร้านยำโดเรมอน


 
 



อีกหนึ่งร้านยำเก่าแก่ ที่ยังใช้เตาถ่านทำอาหารเมนูเด็ดก็เป็นยำรวมมิตรที่ชื่อ โดเรมอน เหมือนกับชื่อร้าน อิ่มใจ อิ่มท้องแล้ว เป็นอันจบทริปแก้ชงค่ะ

นอกจากที่วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกรกมลาวาส บริเวณเยาวราชแล้ว ยังมีสถานที่ที่รับแก้ชงอย่างถูกต้องตามหลักการแก้ปีชงอยู่อีกหลายที่เช่น

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) จ.นนทบุรี
เวลาทำการ ทุกวัน 06.00-18.00 น.

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) ฉะเชิงเทรา
เวลาทำการ ทุกวัน 08.00 - 17.00 น.

พุทธสถานจีเต็กลิ้ม (จ.นครนายก)
เวลาทำการ ทุกวัน 08.00 - 16.00


สำหรับตรุษจีนปีนี้ ซินเหนียนไคว้เล่อ ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ ไฉ่ซิ้งเอี้ยอวยพรค่ะ


0 Comments